ศิลปะการฟ้อนรำพื้นเมืองภาคต่างๆทั่วไทย
การรำไทยเป็นการแสดงประเภทหนึ่งของ “นาฏศิลป์ไทย” มีเอกลักษณ์การร่ายรำโดยการเคลื่อนไหวประกอบกับเสียงดนตรีด้วยลีลาที่อ่อนช้อยและสอดคล้องกลมกลืนกันระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะมือ แขน เท้า และลำตัว มีบทขับร้องด้วยหรือไม่ก็ได้ มีผู้แสดงตั้งแต่ 1-2 คนขึ้นไป แบ่งประเภทเป็นการรำเดี่ยว รำคู่ หรือรำหมู่ แต่งกายตามรูปแบบของการแสดง ท่ารำจะเชื่อมโยงต่อเนื่องกันและเป็นสื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจและลึกซึ้งถึงอารมณ์ของผู้แสดงได้ เพลงรำมีทั้งเร็วและช้า ทั้งนี้ สามารถแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นการรำพื้นเมืองจากทางภาคใดด้วย อาทิเช่น การรำพื้นเมืองภาคเหนือ นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” จะมีท่าทางลีลาที่อ่อนช้อย นุ่มนวล การรำพื้นเมืองภาคกลาง จะมีท่ารำสอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน รำเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน พักผ่อนหย่อนใจหลังจากทำงาน การรำภาคอีสานส่วนมากจะเรียกว่าการรำ “เซิ้งและหมอลำ” มีจังหวะรวดเร็ว เร้าใจและสนุกสนาน น้อยคนนักเมื่อได้ยินเสียงจะยังคงนั่งอยู่กับที่เฉยๆ ได้ ส่วนการรำภาคใต้ก็จะเร็วและสนุกสนานเช่นกัน
รวบรวมท่ารำไทยจากแหล่งกำเนิดของแต่ละภาค
ภาคกลาง
การฟ้อนรำพื้นเมืองภาคกลางนั้นมีน้อยเต็มทีอาจเป็นเพราะว่ามีการรำละครเป็นศิลปะยอมเยี่ยมอยู่แล้วก็ได้มักเก็บตกศิลปะจากภาคอื่นมาดัดแปลงให้สวยงามรัดกุมเช่นรำไทยแปลงเป็นรำวงเต้นสากแปลงเป็นรำกระทบไม้ ส่วนรำสีนวลและลาวแพนเป็นของเก่านิยมรำกันมาแต่เดิมแต่โดยเหตุที่ลีลากระเดียดในทางละครรำมากจึงมีลักษณะพื้นเมืองเพียงครั้งเดียวเรานับเนื่องเป็นการฟ้อนรำภาคกลางก็เพราะเป็นที่นิยมกันในภาคกลางมากขึ้น
ชุดเถิดเทิง(ระบำกลองยาว)กลองยาวนั้นเข้าใจกันว่าเดิมเป็นของมอญพม่ารับไว้เป็นมรดกแพร่เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ70-80ปีมาแล้ว(สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)ชาวพม่าเป็นผู้นำมานอกจากใช้กลองชนิดนี้ประกอบในวงดนตรีแล้วยังใช้ในโอกาสรื่นเริงต่างๆเช่นงานบวชนาคโดนเฉพาะตอนนาคเข้าโบสน์เพราะเชื่อว่ามีมารผจญเสียงกลองนั้นจะสามารถขับไล่ไปได้การเล่นกลองยาวบางท้องถิ่นเรียกว่าเถิดเทิงหรือเทิ่งบองตามเสียงตีที่หน้ากลองนั่นเอง(คือเมื่อใช้หน้ามีตีที่หน้ากลองก็เสียงดังเทิงกำฝ่ามือตีตรงหัวก็จะมีเสียงดังบองทางภาคกลางกลมศิปากรเอาการเล่นกลองยาวมาดัดแปลงเป็นระบำ(เพราะมีการกระโดดโลดเต้นมาก มีลีลาและกระบวนสวยงาม)
ภาคอีสาน
ตามปกติแล้ว ชาวอีสานมิใช่เป็นช่างฟ้อนเช่นชาวเหนือ แต่เจ้าบทเจ้ากลอน หรือเรียกว่าเป็นนักแอ่วเต็มตัว ว่างจากชานแล้วก็มักจะหยิบแคนมาเป่า หรือดีดซึงคนที่ร้องได้ก็ร้องคลอหรือร้องสลับดนตรีไป อย่างไรก็ดี เราได้แบบฉบับการรำมา4อย่างคือ หมอลำ รำสาก ฟ้อนผู้ไทย และรำโทน มีท่ารำที่ยืนพื้นคือแอ่นตัว แล้วโยกไปมา ใช้แขนทั้งลำแขนวาดผ่านหน้าไปมามือก็ไม่จีบเช่นละคร เวลาก้าวไปตามจังหวะก็มีการกระแทกกระทั้นตัว ดีดขา ขยับเอว ขยับไหล่ไปด้วย ไม่มีลีลาเนิบนาบอ่อนช้อย เช่นฟ้อนทางเหนือและแนบละครรำ แต่สนุกสนาน ทั้งแปลกตาไปอีกแบบหนึ่งทีเดียว การรำแบบนี้เรียกว่า รำแบบเซิ้งบุญบ้องไฟ มักมีในงานใหญ่ประจำปีที่เรียกว่า บุญบั้งไฟ
รำโทน-รำวง
เข้าใจว่ารำโทนแพร่หลายในเมืองนครราชสีมามาก่อนแหล่งอื่นวิธีรำคือ รำเป็นคู่ เดิมที่ไม่มีการร้องประกอบ ใช้โทนเสียง มีฉิ่ง ฉาบเล็ก และกรับกำกับจังหวะตลอดเวลา การร่ายรำก็ใช้แบบง่ายๆตามสบายแบบคนรำไม่เป็น ไม่มีการถูกเนื้อต้องตัวกันเลย ได้แต่เกี้ยวกันด้วยสายตาเท่านั้น เดิมนิยมรำกันเป็นคู่ๆ รวมกันเป็นหมู่ๆ เวียนไปตามบ้านต่างๆของคนที่รู้จักกันและคุ้นเคยกันในหมู่บ้านของตนในวันสงกรานต์ ต่อมาก็นิยมแต่งคำและทำนองเพลงประกอบการรำกันเป็นที่สนุกสนานในหมู่หนุ่มสาว
ภาคเหนือ
การร่ายรำแบบพื้นเมือง |
ทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นฟ้อนตามประเพณีเดิมของชาวเชียงใหม่หรือชาวต่างประเทศ เจ้าแก้วเนาวรัฐ เจ้าครองนครเชียงใหม่และเจ้าดารารัศมี พระชายาองค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(เรียกกันติดปากว่าพระราชชายา)ได้ให้ช่างฟ้อนประจำคุ้มดัดแปลงให้สวยงาม โดยผลมผสานท่ารำละครในไว้รับแขกบ้านแขกเมือง แต่สมัยของท่านการฟ้อนต่างๆจึงมิใช่เป็นงานช่วยบุญ หรือฉลองตรุษจทศกาลต่างๆ หรือบรวงสรวงเทวดาเท่านั้นยังใช้ต้อนรับอาคันตุกะที่มีเกียรติ เป็นประเพณีมาตราบเท่าทุกวันนี้
ฟ้อนเงี้ยว
เป็นนาฏศิลป์ของชาวเงี้ยวหรือไทยใหญ่ เจ้าแก้วเนาวรัฐนำเข้ามาให้ครูประจำคุ้มดัดแปลง โดยผสมท่าฟ้อนเล็บใส่ลงไปด้วยชาวเชียงใหม่นิยมมีช่วงฟ้อนเงี้ยวตามหลังขบวนแห่คัวตาน ท่ารำเหมาะสำหรับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มีร้อง มีกระโดดมีรำสลับกันไป
ทำนองเพลงที่ใช้เป็นทำนองที่คุ้นหูคนไทยส่วยใหญ่ เนื้อร้องส่วนหนึ่งเป็นการอวยชัยให้พร อีกส่วนหนึ่งเป็นคำหยอกเย้าดนตรีที่ใช้ได้แก่ ระนาด ตะโพนมอญ ฉาบใหญ่ ฉิ่ง โหม่ง และฆ้องวง
ภาคใต้
การฟ้อนรำภาคใต้นั้น นอกจากมโนห์ราแล้ว ก็มีการเต้นรำของไทยมุสลิมเท่านั้น ที่ใช้คำว่าเต้นรำ ก็เพราะใช้ขาและเท้าแบบฝรั่ง ดนตรีก็มีจังหวะเร่งผิดกับภาคอื่นมาก
รำกริช
รำกริช |
ระบำดาวดึงส์
ระบำดาวดึงส์เป็นระบำมาตรฐานที่สร้างสรรค์รูปแบบท่ารำใหม่ แตกต่างจากระบำมาตรฐานแบบดั้งเดิม ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงชุดนี้ ใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงปรับปรุงแตกต่างจากวงปี่พาทย์เครื่องคู่และเครื่องใหญ่ คือ ลดเครื่องดนตรีบางชิ้นให้มีเสียงทุ้มนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าวเสียงแหลมสูง เครื่องบรรเลง ทำนองเพลงประกอบลีลาท่ารำคือเพลงเหาะ เพลงตะเขิ่ง เพลงเจ้าเซ็น เพลงรัว
ลีลาท่ารำจะผสมผสานนาฏศิลป์กับท่าเต้นทุบอกในพิธีแขกเจ้าเซ็น ท่ารำเข้าคู่พระ-นาง ในรูปแบบรำหมู่ เพลงเหาะ รัว ใช้แม่ท่านาฏศิลป์ไทย ต่อจากนั้นเป็นการผสมผสานระหว่างท่ารำไทยกับท่าเต้นในพิธีเจ้าเซ็น ซึ่งดูสง่างาม
ระบำเทพบันเทิงเป็นระบำที่นายกรัฐมนตรี ตราโมท แต่งบทร้องและทำนองเพลงประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนาตอนลมหอบ กล่าวถึงเทพบุตรนางฟ้าฟ้อนรำบำเรอองค์ปะตาระกาหลา
ดนตรีที่ใช้ประกอบวงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้าหรือเครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ทำนองเพลงแขกเชิญเจ้า เพลงยะวาเร็ว เข้าปี่พาทย์
ระบำกฤดาภินิหาร
เป็นชุดการแสดงที่สร้างสรรค์รูปแบบใหม่ อยู่ในละครประวัติศาสตร์ ในการแสดงครั้งแรกใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลงต่อมาแสดงเป็นระบำชุดเอกเทศ ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมห้า หรือเครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ บางโอกาสใช้วงดุริยางค์สากลบรรเลง ทำนองเพลงได้แก่ เพลงรัวดึกดำบรรพ์ เพลงคววญหา เพลงจีนรัว
ระบำอสุรพงค์
เมื่อเดือนกันยายน พศ.2528 นายเสรีหวังในธรรมได้ออกแบบและสร้างบทร้องระบำเพื่อแสดงในรายการศรีสุขนาฏกรรมครั้งพิเศษให้ประชาชนชม
ระบำวานรพงศ์
ระบำวานรพงศ์เป็นชุดการแสดงที่สร้างสรรค์ใหม่นำออกแสดงในโขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุดหนุมานชาญสมร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.