รำไทยคือวัฒนธรรมประจำชาติของประเทศไทย สมัยก่อนการรำไทยจะเป็นกิจกรรมเวลาว่างของคนสมัยก่อนและได้เอาเข้าไปผสมผสานกับประเพณีต่างๆอย่างเช่น ประเพณีสงกราน ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น การรำหรือท่วงท่ารำจะแตกต่างออกไปตามภูมิภาคต่างๆ อย่างเช่น
ภาคกลาง การฟ้อนรำพื้นเมืองภาคกลางนั้นมีน้อยเต็มทีอาจเป็นเพราะว่ามีการรำละครเป็นศิลปะยอมเยี่ยมอยู่แล้วก็ได้มักเก็บตกศิลปะจากภาคอื่นมาดัดแปลงให้สวยงามรัดกุมเช่นรำไทยแปลงเป็นรำวงเต้นสากแปลงเป็นรำกระทบไม้ ส่วนรำสีนวลและลาวแพนเป็นของเก่านิยมรำกันมาแต่เดิมแต่โดยเหตุที่ลีลากระเดียดในทางละครรำมากจึงมีลักษณะพื้นเมืองเพียงครั้งเดียวเรานับเนื่องเป็นการฟ้อนรำภาคกลางก็เพราะเป็นที่นิยมกันในภาคกลางมากขึ้น ชุดเถิดเทิง(ระบำกลองยาว) กลองยาวนั้นเข้าใจกันว่าเดิมเป็นของมอญพม่ารับไว้เป็นมรดกแพร่เข้ามาในประเทศไทยเมื่อ70-80ปีมาแล้ว(สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)ชาวพม่าเป็นผู้นำมานอกจากใช้กลองชนิดนี้ประกอบในวงดนตรีแล้วยังใช้ในโอกาสรื่นเริงต่างๆเช่นงานบวชนาคโดนเฉพาะตอนนาคเข้าโบสน์เพราะเชื่อว่ามีมารผจญเสียงกลองนั้นจะสามารถขับไล่ไปได้การเล่นกลองยาวบางท้องถิ่นเรียกว่าเถิดเทิงหรือเทิ่งบองตามเสียงตีที่หน้ากลองนั่นเอง(คือเมื่อใช้หน้ามีตีที่หน้ากลองก็เสียงดังเทิงกำฝ่ามือตีตรงหัวก็จะมีเสียงดังบองทางภาคกลางกลมศิปากรเอาการเล่นกลองยาวมาดัดแปลงเป็นระบำ(เพราะมีการกระโดดโลดเต้นมาก มีลีลาและกระบวนสวยงาม)
ภาคอีสาน ตามปกติแล้ว ชาวอีสานมิใช่เป็นช่างฟ้อนเช่นชาวเหนือ แต่เจ้าบทเจ้ากลอน หรือเรียกว่าเป็นนักแอ่วเต็มตัว ว่างจากชานแล้วก็มักจะหยิบแคนมาเป่า หรือดีดซึงคนที่ร้องได้ก็ร้องคลอหรือร้องสลับดนตรีไป อย่างไรก็ดี เราได้แบบฉบับการรำมา4อย่างคือ หมอลำ รำสาก ฟ้อนผู้ไทย และรำโทน มีท่ารำที่ยืนพื้นคือแอ่นตัว แล้วโยกไปมา ใช้แขนทั้งลำแขนวาดผ่านหน้าไปมามือก็ไม่จีบเช่นละคร เวลาก้าวไปตามจังหวะก็มีการกระแทกกระทั้นตัว ดีดขา ขยับเอว ขยับไหล่ไปด้วย ไม่มีลีลาเนิบนาบอ่อนช้อย เช่นฟ้อนทางเหนือและแนบละครรำ แต่สนุกสนาน ทั้งแปลกตาไปอีกแบบหนึ่งทีเดียว การรำแบบนี้เรียกว่า รำแบบเซิ้งบุญบ้องไฟ มักมีในงานใหญ่ประจำปีที่เรียกว่า บุญบั้งไฟ รำโทน-รำวง เข้าใจว่ารำโทนแพร่หลายในเมืองนครราชสีมามาก่อนแหล่งอื่นวิธีรำคือ รำเป็นคู่ เดิมที่ไม่มีการร้องประกอบ ใช้โทนเสียง มีฉิ่ง ฉาบเล็ก และกรับกำกับจังหวะตลอดเวลา การร่ายรำก็ใช้แบบง่ายๆตามสบายแบบคนรำไม่เป็น ไม่มีการถูกเนื้อต้องตัวกันเลย ได้แต่เกี้ยวกันด้วยสายตาเท่านั้น เดิมนิยมรำกันเป็นคู่ๆ รวมกันเป็นหมู่ๆ เวียนไปตามบ้านต่างๆของคนที่รู้จักกันและคุ้นเคยกันในหมู่บ้านของตนในวันสงกรานต์ ต่อมาก็นิยมแต่งคำและทำนองเพลงประกอบการรำกันเป็นที่สนุกสนานในหมู่หนุ่มสาว
ภาคเหนือ เป็นที่รู้จักกันดีว่า ศิลปะการร่ายรำแบบพื้นเมืองของทาวเหนือมีหลายชนิด เช่นฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนโยคี ฟ้อนผีมด ฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตา ทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นฟ้อนตามประเพณีเดิมของชาวเชียงใหม่หรือชาวต่างประเทศ เจ้าแก้วเนาวรัฐ เจ้าครองนครเชียงใหม่และเจ้าดารารัศมี พระชายาองค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(เรียกกันติดปากว่าพระราชชายา)ได้ให้ช่างฟ้อนประจำคุ้มดัดแปลงให้สวยงาม โดยผลมผสานท่ารำละครในไว้รับแขกบ้านแขกเมือง แต่สมัยของท่านการฟ้อนต่างๆจึงมิใช่เป็นงานช่วยบุญ หรือฉลองตรุษจทศกาลต่างๆ หรือบรวงสรวงเทวดาเท่านั้นยังใช้ต้อนรับอาคันตุกะที่มีเกียรติ เป็นประเพณีมาตราบเท่าทุกวันนี้ ฟ้อนเงี้ยว เป็นนาฏศิลป์ของชาวเงี้ยวหรือไทยใหญ่ เจ้าแก้วเนาวรัฐนำเข้ามาให้ครูประจำคุ้มดัดแปลง โดยผสมท่าฟ้อนเล็บใส่ลงไปด้วยชาวเชียงใหม่นิยมมีช่วงฟ้อนเงี้ยวตามหลังขบวนแห่คัวตาน ท่ารำเหมาะสำหรับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง มีร้อง มีกระโดดมีรำสลับกันไป ทำนองเพลงที่ใช้เป็นทำนองที่คุ้นหูคนไทยส่วยใหญ่ เนื้อร้องส่วนหนึ่งเป็นการอวยชัยให้พร อีกส่วนหนึ่งเป็นคำหยอกเย้าดนตรีที่ใช้ได้แก่ ระนาด ตะโพนมอญ ฉาบใหญ่ ฉิ่ง โหม่ง และฆ้องวง
ภาคใต้ การฟ้อนรำภาคใต้นั้น นอกจากมโนห์ราแล้ว ก็มีการเต้นรำของไทยมุสลิมเท่านั้น ที่ใช้คำว่าเต้นรำ ก็เพราะใช้ขาและเท้าแบบฝรั่ง ดนตรีก็มีจังหวะเร่งผิดกับภาคอื่นมาก
การรำหรือท่วงท่า ดนตรี จังหวะในการรำของภาคต่างๆ จะแตกต่างกันตามท้องถิ่นของตัวเอง และชื่อเรียกก็จะต่างกัน
บรรณานุกรม หนังสือ 3 เล่มและสื่อออนไลน์ การแสดงและสอนรำไทย. [ออนไลน์]. http://www.thaisedans.nl/thai/ThaiDanceThai.html : อินเทอร์เน็ต. (อังคาร : 24 มีนาคม 2558). รำไทย. [ออนไลน์]. http://tpmwebbased.weebly.com/thai-dance.html : อินเทอร์เน็ต. (อังคาร : 24 มีนาคม 2558). รำไทย. [ออนไลน์]. http://xn--o3cwb4dwe5b.blogspot.com/2010/01/blog-post.html : อินเตอร์เน็ต. (อังคาร : 24 มีนาคม 2558). สุมิตร เทพวงษ์ นาฏศิลป์ไทย: นาฏศิลป์สำหรับครูประถมศึกษา - อุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2548 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ศิลปะการแสดงของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. 25422 หม่อมดุษฎี บริพัตร ณ อยุธยา รำไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : เลิฟแอนด์ลิฟเพรส, 2535
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น